พระชัยอยุธยา (พระงั่งอยุธยา) วัตถุโบราณ กึ่งพระเครื่อง กึ่งพระบูชา กึ่งเครื่องราง ถูกบูชาได้หลายทาง ถูกพกพามาหลายแบบ ถูกเรียกขานได้หลายนาม ปัจจุบันเป็นที่รู้จักอย่างสากลในชื่อ พระชัยอยุธยา สันนิษฐานว่าถูกสร้างในช่วงที่อยุธยาเกิดศึกสงคราม จึงมีศิลป์แบบเรียบง่ายแต่ดุดันดั่งนักรบโบราณ เชื่อถือกันมาแต่โบราณว่าเครื่องรางของขลังชนิดนี้ แม้เหลือแต่หัวก็พกพาบูชาได้ โดยที่ความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ยังคงเดิมไม่เสื่อมคลาย เด่นทางด้านคุ้มครองป้องกัน ชนะเหนือศัตรู ใช้ทางเมตตาก็ได้ผลดี เทพบุตรแห่งอโยธยา อมตะของดีคู่กรุงศรีอยุธยา เทวรูปสําริดโบราณผู้งามสง่า ผิวคือเหล็กมีฤทธิ์ โลหะบางประดุจเปลือกไข่ เนื้อในคือรูปปั้นดินอาถรรพ์ เลอค่ามากมนต์ขลังสมเป็นเครื่องรางในตํานาน อายุเก่าแก่ไม่ต่ํากว่า 300 ปี ในยุคอันก่อนเกิดคําว่า พระชัย สิ่งนี้คืออะไรยังคงน่าพิศวง หลายคนเชื่อว่างั่งก็คืองั่ง หลายคนเชื่อว่าพระชัยก็คือพระชัย แต่ก็ยังมีอีกหลายคนเชื่อว่า ทั้งงั่งและพระชัยก็คือสิ่งเดียวกัน ส่วนจริงแท้นั้นจะเป็นอะไรก็คงอยู่ที่ความเชื่อความศรัทธาและวิจารณญาณของแต่ละบุคคล สมัยก่อนนักเลงหัวไม้ชอบพกเครื่องรางโบราณชนิดนี้ไว้กับตัว เพราะนอกจากจะเป็นคงกระพันชาตรี ช่วยป้องกันภยันอันตรายจากคมมีดของศัตรูและศาสตราวุธาทุกชนิดแล้ว ยังร่ําลือกันอีกว่าเศียรแหลมๆของสิ่งนี้นั้น สามารถใช้เป็นอาวุธในการต่อสู้กับพวกหนังเหนียวฟันแทงไม่เข้าอีกด้วย มีเรื่องเล่าขานกันมากในแดนใต้ ว่าแม้แต่ชาวต่างชาติ ก็เฟ้นหาสิ่งนี้กันให้ควัก อาทิเช่น สิงค์โปร์ มาเลย์ อินโด พวกเขาอาจไม่ได้ต้องการรู้ ว่านี่คืออะไรอาจไม่ต้องศึกษาประวัติที่มาว่ามาจากไหน เพราะด้วยต่างภาษากัน การจะเล่นหาอะไรของเขาจึงมักวัดกันที่ความขลังเท่านั้น เขาจึงต้องการวัตถุเข้มขลัง ที่มั่นว่าคุ้มตัวได้ รูปหล่อโบราณสําริดบาง เท่าเปลือกไข่นี้จึงโด่งดังไปไกล ตั้งแต่ไทยถึงต่างแดนเพราะมีเรื่องโจษจันกันเป็นตํานานอมตะ ว่าใครมีไว้ มืดปืนไม่ได้กินเลือด ส่วนในเรื่องเมตตามหาเสน่ห์นั้นก็เรียกว่าไม่เป็นสองรองใคร จากประสบการณ์ของคนเฒ่าคนแก่ที่เล่าให้ลูกหลานฟังต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ในเอวของเสือผู้หญิงชายเจ้าชู้สมัยโบราณจึงมักมีเครื่องรางโบาราณชนิดนี้ถักลวดคาดไว้ที่เอวเสมอ ในสมัยนั้นแทบไม่มีใครนําไปห้อยคอเลย เพราะคนยุคนั้นเชื่อว่าวัตถุโบราณชนิดนี้ไม่ใช่รูปเคารพของพระพุทธเจ้า แต่เป็นเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่งที่อยู่ในรูปลักษณ์ของบุคคลเพศชาย อาจเนื่องด้วยเหตุนี้ วัตถุโบราณชนิดนี้จึงถูกเรียกด้วยหลายนามตามประสบการณ์ของผู้ใช้จริง อาทิเช่น พระชัยนะจังงัง, พระงั่งอยุธยา, อ้ายงั่ง ด้วยความเชื่อที่ถูกส่งต่อมาจากรุ่นสู่รุ่นนี้ ภายหลังมาโบราณจารย์จอมขมังเวทย์จึงได้นํารูปแบบศิลปะของพระชัยอยุธยามาผนวกกับมนต์คาถาวิชาขลัง สร้างออกมาเป็น พระงั่ง ในรูปแบบต่างๆ ศิลปะในเชิงประติมากรรมระหว่าง พระชัยอยุธยา และ พระงั่ง จึงมีความคล้ายคลึงกันอย่างไม่น่าบังเอิญ ความมหัศจรรย์ของวัตถุโบราณชนิดนี้ ไม่ได้มาจากเรื่องอิทธิคุณความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ครอบจักรวาลเพียงอย่างเดียว แต่ในเชิงของงานประติมากรรมโลหะก็ถือสุดยอด ด้วยเทคนิคการหล่อสําริดได้บางเฉียบเทียบเท่า เปลือกไข่ สังเกตได้จากเนื้อโลหะกับดินใต้ฐานแทบจะเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งแม้แต่เทคโนโลยีในปัจจุบันก็ยังไม่อาจทําได้ใกล้เคียง ถือเป็นสุดยอดภูมิปัญญาของคนโบราณที่ยังคงเป็นปริศนาอยู่ ว่ากันว่าความลับของการหล่อสําริดบางเท่าเปลือกไข่นี้ นอกจากช่างหล่อต้องหลอมโลหะที่มีทองแดงและดีบุกเป็นองค์ประกอบหลักให้ละลายเข้ากันด้วยอุณหภูมิไม่ต่ํากว่าพันองศาแล้ว ช่างหล่อย