#ปูนขาว & ไดโลไมท์ #ปูนขาวเปลือกหอย 100% สั่งได้ครั้งละไม่เกิน 10 ถุง นะค่ะ - แคลเซียมออกไซด์ (Cao 100%) - ใช้เพิ่มค่า pH ในน้ําและดิน - ปรับค่าความสมดุลของน้ํา ภายในบ่อ - เพิ่มแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ให้กับแพลงตอนในน้ํา - ใช้สําหรับใช้ในสวน ผัก ผลไม้ สวนยาง - ใช้ในการฆ่าเชื้อรา ที่ทําให้พืชเป็นโรค - แก้ปัญหา ใบหงิก ใบเหลือง รากเน่า - เพิ่มแคลเซียม ปรับสภาพดิน เอาเรื่องปูนขาวที่ใช้ในการเกษตรมาฝากครับ ดินและน้ําเป็นปัจจัยสําคัญทางการเกษตร เพราะดินและน้ําจัดเป็นปัจจัยหลักในการเกื้อหนุนผลผลิต เพื่อที่จะให้ผลผลิตที่ได้รับนั้นมีคุณภาพดีมากน้อยเพียงใด ด้วยเหตุนี้เองจุดเริ่มต้นของกิจกรรมต่างๆทางด้านการเกษตร จึงต้องมีการปรับความสมดุลของปัจจัยสําคัญๆ ที่เกี่ยวโยงไปถึงผลผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทราบถึงคุณสมบัติ ของดินและน้ําที่เป็นอยู่ ว่ามีสภาพอย่างไร หากไม่มีความสมดุล ก็จําเป็นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขให้เหมาะสม ปัญหาของการปรับค่าความสมดุลของดินและน้ําให้มีความปกติ วิธีการหนึ่งในกระบวนการแก้ปัญหาดังกล่าว คือ ปูนขาว ซึ่งใช้ในกรณีที่เราทราบว่าดินหรือน้ํามีความเป็นกรดสูง หากแต่ว่าปูนขาวที่มีอยู่ทั่วไปที่ จะนํามาใช้ทางการเกษตรมีมากชนิด แต่อย่างไรก็ตามคุณสมบัติ ทางกายภาพ หรือสิ่งที่เรามองเห็นนั้นมันมีลักษณะที่ไม่ต่างกันเลย จะทําอย่างไรเพื่อจะนํามาใช้ได้อย่างถูกต้อง วัตถุประสงค์หลักของการนําปูนขาวมาใส่ลงในดินหรือน้ําก็คือ เมื่อสภาพของดินและน้ํามีความเป็นกรดสูง การใส่ปูนขาวลงไปเป็นการแก้ปัญหาเพื่อลดระดับความรุนแรงของกรดในดินและน้ํา ทําให้ ธาตุอาหารพืชละลายได้ดี รวมทั้งช่วยเพิ่มธาตุอาหารแคลเซียมและแมกนีเซียมให้แก่พืชไปในตัวด้วย นอกจากนั้นแล้วการใส่ปูนขาวลงไปก็ยังเป็นการลดความรุนแรง หรือฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืช โรคสัตว์ ในพื้นที่นั้นๆ ได้อีกด้วย โดยทั่วไปแล้ว ปูนขาว ที่มีจําหน่ายในท้องตลาดอยู่ทั่วไปมีหลายชนิด จะมีความแตกต่างกันในคุณสมบัติ ทางเคมี แต่คุณสมบัติ ทางกายภาพหรือดูจากภายนอกจะเหมือนๆ กันจนเกิดความสับสนต่อผู้ใช้ จึงต้องทําความเข้าใจประเภทของปูนขาวแต่ละชนิดดังนี้ ปูนขาวชนิดที่หนึ่งคือ หินปูน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า แคลเซียมคาบอร์เนต (CaCo3) หินปูนบดละเอียด จะเป็นพวกหินฝุ่น ขี้เลื่อยหินอ่อน เปลือกหอยบดละเอียด ทั้งหมดนี้มีคุณสมบัติ ทางเคมีอย่างเดียวกัน เป็นปูนขาวตัวหลักที่เกษตรกรสามารถนําไปใช้แก้ไขดินเป็นกรดได้ ปูนขาวชนิดที่สองคือ ปูนมาร์ล (Marl) แคลเซียมคาบอร์เนต (CaCo3) คือหินปูนที่ผุกร่อนตามธรรมชาติ เกิดการสลาย เป็นก้อนเล็กๆ มีความอ่อนตัวลงกว่าเดิม เกิดตามบริเวณภูเขาหินปูนในประเทศไทยมีพบที่ จังหวัดลพบุรี และสระบุรี หลังจากหินปูนผุพังแล้วจะทับถมเป็นชั้น ๆ อยู่ใต้ดิน บริเวณที่เป็นชั้นของปูนมาร์ลอยู่ใกล้ผิวดินจะถูกนํามาใช้ในการเกษตรมีแร่ ธาตุพวกแคลเซี่ยมมาก ปูนขาวชนิดที่สามคือ ปูนขาวหรือปูนชื้น ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH) 2 แต่จริง ๆ ไม่ได้ชื้น ปูนขาวชนิดนี้ที่มีขายตามร้านวัสดุก่อสร้างทั่ว ๆ ไป บรรจุถุงขายใช้ผสมปูนซีเมนต์เป็นปูนฉาบในการก่อสร้างกันมาก เราสามารถนํามาใช้แก้ดินเป็นกรด โดยเฉพาะการแก้ไขน้ําเป็นกรด จะใช้ปูนขาวชนิดนี้ กรรมวิธีในการผลิตปูนชนิดนี้ เกิดจากการเผาหินปูน หรือเปลือกหอย เมื่อได้ปูนเผา (CaO) ขณะร้อน ๆ ก็ฉีดน้ําเข้าไปทําปฏิกิริยาเกิดเป็นแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH) 2 มีราคาแพง เมื่อละลายน้ําจะไม่ร้อน ปูนขาวชนิดที่สี่คือ #ปูนเผา มีชื่อวิทยา